บทความนี้ เป็นการแปลบทคัดย่อ จากงานวิจัยของ Sim Monica – Ariana และ Pop Anamaria – Mirabela (ประเทศโรมาเนีย) เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การใช้สื่อโซเชี่ยลในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ผู้แปลหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อผู้ที่สนใจ โดยความดีของเนื้อหา ขออุทิศแด่ผู้ทำวิจัยทั้งสองท่านดังชื่อที่ปรากฏข้างต้นครับ
ชื่องานวิจัยต้นทาง : THE IMPACT OF SOCIAL MEDIA ON VOCABULARY LEARNING CASE STUDY FACEBOOK
บทคัดย่อ :
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาถึงผลของคอมพิวเตอร์และโซเชี่ยลมีเดีย ในการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก เฉพาะในเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์ ของนักศึกษาปี 1 และปี 2 ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Oradea
….
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเฟซบุ้ก มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสาร
นอกจากนี้ เฟซบุ้กยังตอบสนองความต้องการในด้านการศึกษา ทั้งยังมีบทบาทที่โดดเด่นในการเป็นสื่อเพือ การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
แต่การศึกษาเรื่องการใช้เฟซบุ้ค เพื่อการสอนภาษาอังกฤษยังมีอยู่น้อย
งานวิจัยนี้ จึงตั้งใจที่จะศึกษาบทบาทและประสิทธิภาพของการใช้เฟซบุ้คในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
งานวิจัยนี้พยายามตอบคำถามที่ว่า “สื่อโซเชี่ยลมีผลต่อพัฒนาการและความก้าวหน้าทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาหรือไม่? และเพื่อตอบคำถามดังกล่าว โครงการสร้างกลุ่มทดลองในเฟซบุ้กจึงเกิดขึ้น
สมมติฐานที่คาดการณ์ไว้คือ มันน่าจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องความรู้ด้านคำศัพท์ระหว่างกลุ่มที่ใช้สื่อโซเชี่ยลในการเรียนรู้กับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้
สิ่งที่งานวิจัยทำการศึกษา :
1) ผลของการใช้สื่อเฟซบุ้กที่มีต่อพัฒนาการด้านความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาปี 1-2 จำนวน 127 คน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Oredea
วิธีศึกษา :
1. นักศึกษา 127 คน ถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม A จำนวน 70 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยมีการตั้งกลุ่มในเฟซบุ้ก
เพื่อรับข้อมูลจากครูผ่านเฟซบุ้ค อีกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 57 คน เป็นกลุ่มที่เรียนจากครูในห้องเรียน
2) นักศึกษาทั้งสองกลุ่ม จะถูกประเมินด้วย pre-test (ทำตอนเปิดเทอม) และ post-test (ทำหลังจากได้เรียนคำศัพท์ 1 เดือน) ซึ่งเป็นข้อสอบแบบ multiple choice
3) เนื้อหาของสิ่งที่ครูสอนเป็นเรื่องความแตกต่างของคำศัพท์แบบอังกฤษกับอเมริกันในเรื่องความหมายและการสะกด
4) การตั้งกลุ่มในเฟซบุ้กจัดตั้งขึ้นตอนต้นเทอม เพื่อคลาสภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อให้้นักศึกษาในกลุ่มทดลองใช้ในการรับข้อมูลและโต้ตอบ
5) ในการวิจัย นักศึกษาไม่ได้รับการบอกกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการวิจัย ไม่มีการใช้ดิกชันนารี่ในการสอบ และแจ้งว่างานนี้เป็นงานอาสาสมัคร…จึงไม่มีรางวัลหรือคะแนนพิเศษให้
ผลการวิจัย :
ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน กล่าวคือ แม้กลุ่มเฟซบุ้กจะมีคะแนนสูงกว่า แต่ไม่มากพอที่จะมีนัยสำคัญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พัฒนาการด้านคำศัพท์ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป :
1) ผู้วิจัยสรุปว่า เฟซบุ้คสามารถเป็นเครื่องมือหรือสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเรียนการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบปกติ (ในห้องเรียน) และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
*หมายเหตุจากผู้แปล : ผู้สนใจควรอ่านงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อศึกษาที่มาของการสรุปผลอีกครั้ง เพราะจากข้อมูลจากบทคัดย่อ ข้อสรุปดูไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยนัก : นำบุญ (ความเห็นส่วนตัว)
ข้อจำกัด :
1) จำนวนตัวอย่าง 127 คน ถือว่าน้อย
2) การศึกษาเน้นไปที่คำศัพท์แบบอังกฤษและอเมริกัน โดยดูความเหมือนและต่าง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง :
-การเรียนภาษาผ่านสื่อโซเชี่ยล (SMLL) เป็น แนวทางใหม่ในการสอนภาษาแบบมีการโต้ตอบกันได้ (interactive) นักศึกษาถูกส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาทักษะทางภาษาและการสื่อสาร วิธีการนี้ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยบริษัทจากสเปน ที่มีชื่อว่า Idiomplus ที่ทำการศึกษาเรื่อง “สื่อโซเชี่ยล มีผลต่อพัฒนาการและความก้าวหน้าทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาหรือไม่” หรือพูดง่าย ๆ คือ การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิม (ครูสอน) กับการเรียนผ่านโซเชี่ยลมีเดียให้ผลที่ต่างกันอย่างไร
-งานวิจัย ชี้ให้เห็นการเติบโตของสื่อโซเชี่ยล จุดประสงค์ที่ผู้คนใช้สื่อนี้และทำให้มันแพร่หลายเร็ว (การเดท มิตรภาพ ข่าวสาร พยากรณ์อากาศ ธุรกิจ) มีการพูดถึงปัจจัยที่ทำให้โซเชี่ยลมีเดียได้รับความนิยมมี 2 ปัจจัย คือ การได้พบคนใหม่ ๆ และรักษาความสัมพันธ์เดิม ๆ (หน้า 121)
นักวิจัยเสนอความเห็นว่า การที่โซเชี่ยลมีเดียแพร่หลาย เป็นเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ทางด้านมือถือและอินเตอรเน็ต ที่สร้างแพลตฟอร์มซึ่งสามารถโต้ตอบได้ง่าย ทำให้ผู้ใช้งานทั้งแบบบุคคลและแบบกลุ่มสามารถสร้างเนื้อหา แชร์ ถกเถียง ปรับปรุง (หน้า 122) ส่วนนักวิจัยบางคนก็บอกว่า การที่สื่อโซเชี่ยลได้รับความนิยม ไม่ใช่เฉพาะการที่มันเป็นสื่อที่ช่วยในการสื่อสารในกลุ่มสังคม แต่มันเป็นสื่อที่ช่วยในเรื่องธุรกิจด้วย
-มีงานวิจัยที่พูดถึงการใช้ twitter ส่งเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
-มีงานวิจัยพูดถึงการใช้ facebook ส่งเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
-มีการเกริ่นว่า การเรียนรู้คำศัพท์เป็นเรื่องที่ท้าทายและใช้เวลามาก
-ในการสอนคำศัพท์ อินเตอร์เน็ตจะช่วยเพิ่มโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารจริง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
(หน้า 123)