นิทานคลาสสิกหรือนิทานอมตะที่เด็ก ๆ ทั่วโลกรู้จักกันดี คงหนีไม่พ้น นิทานอีสปและนิทานนานาชาติต่าง ๆ เช่น นิทานเรื่อง ลูกหมูสามตัว หนูน้อยหมวกแดง เด็กเลี้ยงแกะ แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ซินเดอเรลล่า กระต่ายกับเต่า ฯลฯ ซึ่งนิทานเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นนิทานซึ่งมีที่มาจากประเทศนั้น ประเทศนี้ หรือบางทีอาจไม่รู้ว่าต้นตอมาจากประเทศไหน แต่ก็เป็นนิทานประจำใจที่เด็กทั่วโลกชื่นชอบเหมือน ๆ กัน

ในฐานะที่ผม (นำบุญ นามเป็นบุญ) เป็นนักแต่งนิทานในยุคปัจจุบัน นิทานอมตะทั้งหลายจึงเป็นเหมือน “ครู” ที่มีส่วนในการทำให้ผมกลายมาเป็นนักเขียนนิทาน ซึ่งผมยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยคิดที่จะนำนิทานคลาสสิกทั้งหลายมาเล่าซ้ำหรือเขียนในสำนวนของตัวเองเลย เพราะถือว่านิทานเหล่านี้มีคุณค่า มีความงดงามในตัวเองอยู่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมเกิดความคิดขึ้นมาว่า ถ้านักแต่งนิทานรุ่นหลังอย่างผม ลองนำนิทานนานาชาติมาเล่าด้วยสำนวนของตัวเองด้วยความเคารพในผลงานนิทานชั้นครูเหล่านี้ ผมจะทำให้นิทานที่ทรงคุณค่า ยังคงสร้างความสนุกและเหมาะสมกับเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันได้มากขึ้นหรือไม่? ด้วยเหตุนี้เอง ผมจึงเริ่มต้นเขียนนิทานอมตะที่เด็ก ๆ รู้จักกันดี ด้วยสำนวนและแนวทางแบบ “นิทานนำบุญ” ซึ่งนิทานที่ผมทดลองเขียนมีดังต่อไปนี้




ผมหวังว่า การนำนิทานคลาสสิกทั้งหลายมาเขียนในสำนวนของผม คงช่วยทำให้เนื้อเรื่องของนิทานอมตะทั้งหลายดูสมเหตุสมผล และมีความกลมกล่อมมากขึ้น นอกจากนี้ ผมหวังว่า นิทานเรื่องต่าง ๆ ที่อาจเคยมีฉากรุนแรง น่าจะดูอ่อนโยนมากขึ้น ตามแนวทางของ “นิทานนำบุญ” ที่พยายามลดความรุนแรงในนิทานเด็ก ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถ้าคุณ ๆ ชอบนิทานนานาชาติเรื่องสั้น ๆ ที่ผมนำมาเล่าใหม่เหล่านี้ ช่วยเขียนบอกกันสักนิดนะครับ เพราะถ้าชื่นชอบกัน ผมจะได้นำนิทานคลาสสิกทั้งหลายมาเล่าอีกในโอกาสต่อ ๆ ไปครับ
และถ้าใครอยากอ่านนิทานภาคต่อ ของนิทานนานาชาติเรื่องสั้น ๆ เหล่านี้ ซึ่งผมเป็นคนแต่งเอง ลองอ่านได้ตามลิงค์ต่อไปนี้นะครับ
