Posted in Uncategorized

สอนเด็กคิดด้วย P4C

Philosophy for Children (P4C) หรือ ปรัชญาสำหรับเด็ก  เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ เพื่อ ส่งเสริมเรื่อง การใช้ความคิดในการให้เหตุผล (reasoning) และการตัดสิน (judgement) สิ่งต่าง ๆ  ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นเรื่องการคิด (teaching for thinking) เป็นสำคัญ

010

Philosophy for Children มีเป้าหมายหลักเพื่อฝึกให้เด็กคิดได้ด้วยตนเอง โดยใช้ “สื่อ” ที่ช่วยให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล และการสื่อสารสิ่งที่คิดให้ผู้อื่นได้รับรู้  ซึ่งจะก่อให้เกิด ชุมชนแห่งการสืบสอบ (community of inquiry) หรือ ชุมชนของคนช่างคิดที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล

(“สื่อ” ในที่นี้ อาจเป็นหนังสือภาพ รูปภาพ วิดีโอ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เมื่อดูแล้ว มีแง่มุมให้แลกเปลี่ยนความคิดกัน)

singing-304617_960_720

 

Philosophy for Children เน้นส่งเสริมการคิดใน 3 ด้าน คือ การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (creative thinking) และการคิดเชิงอาทร (caring thinking) ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญากรีกในด้านความจริง (Truth) ความงาม (Beauty) และความดี (Goodness)

*การคิดเชิงอาทร (caring thinking)  เป็นการคิดบนพื้นฐานของหัวใจของแต่ละบุคคล (คือคิดด้วยใจ คิดด้วยค่านิยมส่วนบุคคล)  ซึ่งการคิดแบบนี้ จะช่วยให้เกิดแง่มุมเพิ่มเติม นอกเหนือจากการคิดด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว

babe-4399162_960_720

ทักษะการคิดที่ได้เด็ก ๆ จะได้รับจากแนวทางจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ ประกอบด้วย ทักษะการสร้างมโนทัศน์ (Concept formation skills)  ทักษะการสืบสอบ (Inquiry skills) ทักษะการใช้เหตุผล (Reasoning skills)  ทักษะการแปลความ (Translation skills)

watercolour-1768921_960_720

 

ทักษะการสร้างมโนทัศน์ (Concept formation skills)

คำถามประเภท :  พวกเรารู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้หรือเรื่องนี้บ้าง? มันคล้ายกับอะไร? มันตรงข้ามกับอะไร? เรามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งนี้หรือเรื่องนี้?   คำถามเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการให้นิยาม หรือ การให้ความหมายเกี่ยวกับสิ่งหรือเรื่องที่กำลังพูดถึง  ทำให้เกิดภาพในใจ (มโนทัศน์)  ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น

ทักษะการสืบสอบ (Inquiry skills)

คำถามประเภท :  เราอยากรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้หรือเรื่องนี้บ้าง?  เราจะค้นหาข้อมูลหรือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร?  คำถามเหล่านี้ จะกระตุ้นให้เด็กรู้จักการสังเกต การตั้งสมมติฐาน (การคาดเดาคำตอบ)  การค้นหาคำตอบ การตั้งคำถามเพิ่มเติม การอธิบาย และการได้เห็นอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่คิดหรือคาดเดาไว้โดยไม่มีข้อมูลเพียงพออาจไม่เป็นจริง

ทักษะการใช้เหตุผล (Reasoning skills)

คำถามประเภท  : เรารู้ได้อย่างไร? เรามั่นใจว่าสิ่งที่คิดถูกต้องได้อย่างไร?  มันเป็นจริงหรือไม่?   ทำไมจึงคิดเช่นนั้น?  มีเหตุผลสนับสนุนหรือไม่?  คำถามที่ถามเรื่องเหตุผลหรือที่มาที่ทำให้เชื่อ จะส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะในการให้เหตุผล  ซึ่งเป็นการฝึกให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)

ทักษะการแปลความ (Translation skills)

คำถามประเภท :  จากข้อมูลและความคิดเห็นทั้งหมด เราตีความหรือสรุปได้ว่าอะไร?   มันหมายความว่าอะไร?  คำถามประเภทนี้จะฝึกให้เด็กได้เพิ่มพูนทักษะในการตีความข้อมูล (ที่คนอื่นนำเสนอ) และการสื่อสารความคิดของตนเองและของผู้อื่นออกมาเป็นคำพูดเพื่อให้ทุกคนเข้าใจ

shelf-3290109_960_720.jpg

วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Philosophy for Children

การจัดการเรียนรู้แบบ Philosophy for Children  เน้นการพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้สื่อบางอย่าง เป็นตัวจุดประกายให้เกิดประเด็นที่ชวนให้คิดสงสัย และเกิดการสนทนาอย่างมีเหตุมีผลเพื่อหาคำตอบ

easter-2121022_960_720

 

สื่อที่ใช้กับเด็ก มักเป็นเรื่องเล่าหรือนิทาน (Stories)  เพราะเด็กชอบฟังนิทานอยู่แล้ว และนิทานจะดึงดูดให้เด็กสนใจ และช่วยให้เด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ออกมา  โดยครูจะทำหน้าที่จุดประเด็นในการสนทนา กระตุ้นการคิดด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด  รับฟังและ “หยอดคำถาม” เพื่อให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดในแง่มุมอื่น ๆ จนความคิดต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงแบบรอบด้านและตกผลึกเป็นคำตอบของคำถาม

bustos-756620_960_720

 

Philosophy for Children  จะส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าของการใช้เหตุผลและการสืบสอบ (inquiry)  ช่วยพัฒนากระบวนการคิด  ทำให้เกิดชุมชนของนักคิดที่รับฟังและให้ความเคารพต่อกัน กล้าแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งและช่วยกันหาเหตุผลสนับสนุนหรือค้านความคิดที่มีเหตุผลไม่เพียงพอ  ซึ่งสุดท้าย  เด็ก ๆ จะได้ค้นพบว่า  เหตุผลที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพอหรือมีความขัดแย้งในตัวเอง  อาจมีช่องโหว่ที่  ซึ่งคำตอบของผู้อื่นที่มีเหตุผลมากกว่า สามารถเติมเต็มและทำให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์ขึ้น

human-763156_960_720

เมื่อเด็ก ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดกันบ่อย ๆ  เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่า การแสดงความเห็นจำเป็นต้องมีเหตุผลประกอบเสมอ โดยเราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่พูดและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้   พร้อมทั้งต้องรับฟังข้อโต้แย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างได้  เพราะทั้งหมดเป็นกระบวนการอันมีค่าในการแสวงหาคำตอบร่วมกัน

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.